ความเป็นมา

โครงการเพิ่มทักษะ (Upskill) การสอนรายวิชา พระพุทธศาสนา และพุทธปรัชญา
เนื่องในโครงการ “พัฒนาศักยภาพการสอนสำหรับคณาจารย์”
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖

———————-

๑. ชื่อโครงการ : โครงการ(Upskill) การสอนรายวิชา พระพุทธศาสนา และพุทธปรัชญา เนื่องในโครงการ “พัฒนาศักยภาพการสอนสำหรับคณาจารย์”มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖

๒.  ชื่อหน่วยงาน : กองวิชาการ ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ ส่วนงานบริหาร สำนักส่งเสริมฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๓.  ผู้รับผิดชอบโครงการ : กองวิชาการ ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ ส่วนงานบริหาร สำนักส่งเสริมฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๔.  โครงการเชื่อมโยงกับมาตรฐาน สกอ. : องค์ประกอบที่  ๑ การผลิตบัณฑิต

. หลักการและเหตุผล

  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทย จัดอยู่ในกลุ่ม ๔ เป็นกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรม เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสู่การพัฒนาปัญญาด้วยหลักศาสนา ผสานกับหลักวิชาการ มีนโยบายด้านการผลิตบัณฑิตและการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อสร้างบัณฑิตที่เป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นำทางจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถและทักษะในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยคือ การพัฒนาเทคนิค และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคม  

          บุคลากรสายวิชาการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อภารกิจดังกล่าวของมหาวิทยาลัย การพัฒนาบุคลากรสายวิชาการหรืออาจารย์ให้สามารถสอนนิสิตด้วยเทคนิคที่น่าสนใจ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย อีกทั้งสอนเนื้อหาสาระด้านพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา เป็นไปในทิศเดียวกัน ตลอดจนเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยขยายขอบข่ายของความรู้  การเรียนรู้ของผู้เรียนให้กว้างไกล ทัดเทียมความก้าวหน้าด้านต่างๆ ในโลกปัจจุบัน  ตลอดจนเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินงานตามนโยบายด้านการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

ในการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรู้และทักษะในด้านการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการเรื่องการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา   เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการได้พัฒนาศักยภาพเทคนิคการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา  เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น  และเพื่อให้บุคลากรสายวิชาการที่สอนรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา มีแนวทางการสอนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  รวมทั้งสามารถนำสิ่งที่เป็นแนวปฏิบัติอันดีมาร่วมแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายและตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยต่อไป  

.  วัตถุประสงค์

         ๖.๑  เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญาเพิ่มมากขึ้น

         ๖.๒  เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการ ได้พัฒนาศักยภาพเทคนิคการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญาเพิ่มมากขึ้น เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น  

         ๖.๓  เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการ ที่สอนรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา มีแนวทางการสอนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

.  เป้าหมาย

      ๗.๑  เป้าหมายเชิงปริมาณ  

       ในคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ โครงการขยายห้องเรียนและหน่วยวิทยบริการ   จำนวน  ๓๐๐ รูป/คน

     ๗.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ  

                คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ในคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ โครงการขยายห้องเรียนและหน่วยวิทยบริการ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะ เทคนิคการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญาเพิ่มมากขึ้นสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

     ๗.๓  เป้าหมายเชิงเวลา  

               ตุลาคม ๒๕๖๕ – มกราคม ๒๕๖๖

๘. ผู้เข้าร่วมโครงการ

          ผู้เข้าร่วมโครงการ คณาจารย์ ในคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ โครงการขยายห้องเรียนและหน่วยวิทยบริการ จำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ รูป/คน

๙. วัน เวลา และสถานที่ดำเนินการ  

          ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ผ่านระบบออนไลน์ zoom  id 9779933546  และผ่านลิงก์ https://zoom.us/j/9779933546

๑๐. ลักษณะกิจกรรม

          การบรรยาย การเสวนา และการสนทนาถาม-ตอบ

๑๑.  กิจกรรมดำเนินงาน

กิจกรรม

ระยะเวลาการดำเนินงาน  ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ตค

พย

ธค

มค

กพ

มีค

เมย

พค

มิย

กค

สค

กย

๑) ขออนุมัติโครงการย่อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๓) เตรียมเอกสาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๔) ดำเนินการอบรม ๔ เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๕) ประเมิน/สรุปผลงานการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๖) ส่งรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๒.  งบประมาณดำเนินการ 

          งบประมาณในการใช้จ่าย รวมทั้งสิ้น  –  บาท  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑๒.๑ ค่าที่พัก                                                            —–  บาท

๑๒.๒ ค่าอาหาร                                                          —–   บาท

๑๒.๓ ค่าตอบแทนวิทยากร                                             —–  บาท

๑๒.๔ ค่าถ่ายเอกสาร                                                   —–  บาท

๑๒.๕ ค่าของที่ระลึก วุฒิบัตร                                         —–  บาท

๑๒.๖ ค่าใช้สอยอื่นๆ                                                    —–  บาท

๑๓. ตัวชี้วัดผลสำเร็จจากการดำเนินงาน

          ๑๓.๑ ผลผลิต

                  ๑) เชิงปริมาณ     

                      ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

                  ๒) เชิงคุณภาพ   

                      ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจการดำเนินโครงการ ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕

          ๑๓.๒ ผลลัพธ์  

                  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และพัฒนาทักษะ เทคนิคการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญาเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ  ๘๐ และจะได้รับวุฒิบัตรจากการเข้าอบรมในโครงการดังกล่าว

๑๔.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          ๑๔.๑ บุคลากรสายวิชาการมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญาเพิ่มมากขึ้น   

          ๑๔.๒ บุคลากรสายวิชาการ ได้พัฒนาศักยภาพเทคนิคการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญาเพิ่มมากขึ้น เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น  

          ๑๔.๓ บุคลากรสายวิชาการ ที่สอนรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา มีแนวทางการสอนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

๑๕. การติดตามประเมินผล

          ๑๕.๑ ประเมินผลการเข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถาม

          ๑๕.๒ ติดตามการนำเทคนิคการสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน